พระผงสุพรรณ
พระผงสุพรรณ
     ◉ ขออนุญาตด้วยความเคารพ ที่อ้างถึงข้อเขียนของ อ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ
     ◉ โดย อาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ได้เขียนใน รังสรรค์ ต่อสุวรรณ / Rangsan Torsuwan fanpage 19 เมษายน 2017 ใจความดังนี้:
     ⊛ "พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ มี 2 พิมพ์ คือพิมพ์หน้าเอียงข้างเล็กน้อย เป็นพิมพ์ที่นิยมสูงสุด เพราะมีปรากฎจำนวนมาก และมีพิมพ์หน้าตรง ซึ่งมีปรากฏเป็นจำนวนน้อย จึงมีบางคนที่อาจจะเป็นเซียนโลกแคบที่ไม่ยอมรับพระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่องค์นี้ มีเอกลักษณ์ที่ตาข้างขวาเป็นตาโบ๋ ตาข้างซ้ายเป็นตาเต็ม อันเป็นเอกลักษณ์ของพระผงสุพรรณพิพ์หน้าแก่ และที่สวยมากก็คือ ปากใต้สันจมูกเป็นริมฝีปากหน้าศิลปะอู่ทอง พระกรรณทั้งสองข้างเป็นปีกกว้าง พระกรรณข้างขวาขององค์พระ ปลายพระกรรณเป็นหูยาวจรดไหล่ อกขององค์พระจะนูนใหญ่เหมือนทรงหัววัว ต้กเป็นมือใหญ่ มีนิ้วหัวแม่มือนิ้วโป้งยกสูง และมีปลายเล็บยาว โค้งลง อันเป็นตำหนิของการดูพระแท้ และตุ่มงอกที่ใต้หน้าแข้งซ้ายขององค์พระเป็นตำหนิแม่พิมพ์ พระทุกด้าน จะมีรอยตัดมุม ที่มีรอยปลิ้น ขึ้นเป็นบางจุด พิมพ์หลังจะมีรอยนิ้วมือที่กดแม่พิมพ์ปรากฎให้เห็นได้เด่นชัด มีคราบดินขี้กรุในลายนิ้วมือที่มีอยู่เต็มลายนิ้วมือเลยครับ"


          ⊛ พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่ทั้งสองแบบพิมพ์นี้ มีความแตกต่างกันตรงที่ขนาด (ความกว้างและความสูง) ดวงตาขวาหรือพระเนตรขวา และความลึกชัด แม้พิมพ์หน้าเอียงจะตื้น ไม่คมลึกชัดเท่าพิมพ์หน้าตรง แต่ก็มีรายละเอียดในเส้นสาย อัตราส่วนของมิติต่าง ๆ ของรูปลักษณ์ทั้งมวลพ้องตรงกัน โดยทุกประการ พระเนตรขวาของพิมพ์หน้าตรงใช่ว่าจะไม่มีดวงตา เพียงแต่ลูกดวงตามีขนาดเล็ก
          ⊛ จากการเปรียบเทียบรูปลักษณ์ของทั้งสองแบบพิมพ์นี้แล้ว ทำให้สามารถสรุปได้ว่าพิมพ์หน้าเอียงถอดพิมพ์มาจากพิมพ์หน้าตรง เมื่อถอดนัยน์ตาขวาไม่ติดจึงต้องแต่งพิมพ์ให้เกิดนัยน์ตาขึ้น ใบหูหรือพระกรรณทั้งสองข้างแม้จะไม่เหมือนแต่ก็มีความละม้ายกัน

ค้นคว้าและเผยแพร่โดย :
❖ สุนทร อาชวรักษ์ 087-0729613

          ⊛ ก่อนที่ผมจะมาค้นคว้าศึกษาพระหน้าตรงพิมพ์นี้ นั้น ผมเคยได้พบเห็นพระพิมพ์นี้มาก่อน และเห็นว่าโดยลักษณะของเนื้อหาแบบนี้ต้องถือว่าเป็นพระที่มีความเก่าสูงมาก และอาจจะเก่ากว่าพิมพ์หน้าเอียง ก็เป็นได้
          ⊛ พระผงสุพรรณพิมพ์นี้ได้เคยผ่านสายตาผม และสัมผัสด้วยมือมาแล้วกว่า 200 องค์ พระทุกองค์เป็นพระที่เนื้อละเอียดมาก มวลสารที่ผสมปะปนอยู่ก็ถูกบดละเอียดมากต้องส่องดูด้วยกล้องขยาย อาจเป็นไปได้ว่าความละเอียดของเนื้อ เมื่อถูกทำให้แห้งโดยผ่านกาลเวลาที่ยาวนาน ทำให้รากของรารักดำที่เกิดจากความชื้นภายในกรุุไม่อาจเกาะติดได้ บรมจารย์หรือผู้รู้แต่เก่าก่อนได้เรียกหรือตั้งชื่อพระผงสุพรรณว่า พระผงเกสรสุพรรณ คงเนื่องด้วยพระนี้ทำขึ้นจากเนื้อที่ละเอียดดังผงแป้งและเกสรดอกไม้
          ⊛ เท่าที่ผมได้ศึกษาพระพิมพ์นี้มา ยังไม่เคยเห็นเนื้อพระที่เป็นเนื้อหยาบแต่อย่างใดเลย เกี่ยวกับรารักในพระผงสุพรรณนี้ อยากให้อ่านข้อเขียนของคุณพลายชุมพลที่ออกเผยแพร่ในไทยรัฐออนไลน์ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2560
          ⊛ จากบทความนี้ได้ให้ข้อสังเกตุและเป็นสิ่งที่พึงศึกษาค้นคว้าต่อตรงที่ว่า "พระผงสุพรรณขึ้นชั้นเป็นพระดูยาก"
          ⊛ ข้อแรก เป็นพระที่ผ่านพระหัตถ์เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ชาวบ้านสาม้ญก็ไม่ค่อยมีโอกาสดูพระแท้เป็น "แม่แบบ"

ค้นคว้าและเผยแพร่โดย :
❖ สุนทร อาชวรักษ์ 087-0729613

          ☸ พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าตรงนี้ เท่าที่ผมพบมา มีอยู่ 3 ขนาด โดยวัดความกว้างจากปลายทั้งสองของฐานผ้ารองนั่ง และวัดความสูงจากล่างสุดของฐานผ้ารองนั่ง ไปจนสุดพระเมาลี จะได้เป็นขนาด ดังนี้
  • พิมพ์หน้าตรงพิมพ์ใหญ่ มีขนาด 1.6 และ 2.7 เซ็นติเมตร
  • พิมพ์หน้าตรงพิมพ์กลาง มีขนาด 1.55 และ 2.6 เซ็นติเมตร
  • พิมพ์หน้าตรงพิมพ์เล็ก มีขนาด 1.5 และ 2.5 เซ็นติเมตร
  • พิมพ์หน้าแก่หน้าเอียงก็มีขนาดประมาณเท่ากับพิมพ์หน้าตรงขนาดเล็ก คือ 1.45-1.5 และ 2.45- 2.5 เซ็นติเมตร
  • พิมพ์หน้ากลาง จะมีขนาด 1.4 และ 2.4 เซ็นติเมตร
  • พิมพ์หน้าหนุ่ม จะมีขนาดประมาณ 1.3 และ 2.3 เซ็นติเมตร
ค้นคว้าและเผยแพร่โดย :
❖ สุนทร อาชวรักษ์ 087-0729613

☸ จากที่เปรียบเทียบ เราจะเห็นว่าขนาดของพิมพ์นับตั้งแต่พิมพ์ใหญ่หน้าตรงจนถึงพิมพ์หน้าหนุ่ม ขนาดของพิมพ์จะหดเล็กลดหลั่นกันเรื่อยลงมา และไม่แต่เพียงแค่นั้น ความคมชัดลึกของพิมพ์ก็จะลดน้อยลดหลั่นลงตามกันไปด้วย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะมาจากการถอดแบบเพื่อทำแม่พิมพ์พระ พระที่ได้จากแม่พิมพ์ใหม่นี้จะมีขนาดที่เล็กกว่าและตื้นกว่าพระที่นำมาใช้เป็นต้นแบบ
☸ ฉะนั้น เราจึงพอทีจะประมาณการณ์กันคร่าวๆโดยไม่ชัดเจนนักได้ว่า พระหน้าหนุ่มถอดพิมพ์มาจากพระหน้ากลาง พระหน้ากลางถอดพิมพ์มาจากพระหน้าแก่ และพระหน้าแก่ถอดพิมพ์มาจากพระหน้าตรงพิมพ์เล็กหรือพิมพ์กลางก็ได้ เพราะดูๆ แล้วน่าจะมีช่างหลายฝีมือ
        ☸ สำหรับพระหน้าตรงพิมพ์เล็กนั้นถอดพิมพ์มาจากพระหน้าตรงพิมพ์กลาง และพิมพ์กลางก็ถอดพิมพ์มาจากพระหน้าตรงพิมพ์ใหญ่่ ฝีมือการถอดถือว่ายอดเยี่ยมมาก เพราะสามารถรักษารายละเอียดความลึกฃัดได้ครบถ้วน ฝีมือผิดและต่างไปจากช่างผู้ที่ถอดทำให้กลายเป็นพระหน้าเอียงมาก และเมื่อนำพิมพ์หน้าแก่หน้าเอียงนี้ไปถอดต่อให้กลายเป็นหน้ากลางและหน้าหนุ่มแล้วยิ่งทำให้ความสวยชัดจืดจางลงไปอีก
จากรูปทั้ง 4 ภาพ จะเห็นได้ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ว่า เมื่อถอดพิมพ์พระเพื่อสร้างพระพิมพ์ใหม่ พระพิมพ์ใหม่ที่ได้จะมีขนาดที่เล็กลงและตื้นขึ้น ไม่คมชัดลึกเท่าของเดิม
ทั้ง 4 ภาพ พระเศียรจะมีความแตกต่างกัน เพราะมีการแก้ไขตบแต่งพิมพ์ ส่วนช่วงลำองค์จนถึงพระบาทมีการตบแต่งแก้ไขน้อยมาก ทำให้ยังเห็นถึงโครงสร้างของทั้ง 4 ภาพ ว่าเหมือนกัน ยกตัวอย่างลำพระกรขวาขององค์พระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงระหว่างข้อศอกจนถึงข้อมือ จะเป็นเส้นคดไม่เป็นเส้นตรง ดูเห็นได้ชัดเจนมากในพิมพ์หน้าตรง และเริ่มเบาบางลงไปเรื่อย ๆ ในพิมพ์หน้าแก่ หน้ากลาง และหน้าหนุ่ม เป็นต้น

ค้นคว้าและเผยแพร่โดย :
❖ สุนทร อาชวรักษ์ 087-0729613

          ☸ การเพิ่มแม่พิมพ์เพื่อใช้ช่วยในการพิมพ์พระให้ได้จำนวนมากขึ้นโดยาิธีการถอดแบบจากพระบล็อคเดิมนั้น ถือเป็นเรื่องปกติแต่ครั้งโบราณ จะเห็นได้จากกรณีพระกรุต่างๆที่พบมา พระพิมพ์เดียวกันจะมีขนาดไม่เท่ากัน ไม่มีที่เป็นขนาดเดียวกันทั้งหมดเลย
          ☸ พระสมเด็จบางขุนพรหมของสมเด็จพระพุฒาจารย์พรหมรังษี (โต) ที่ต้องพิมพ์พระจำนวน 84,000 องค์ให้สำเร็จเสร็จในวันเดียว ก็สามารถพิสูจน์ว่า ได้ใช้การถอดและสร้างแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นโดยวิธีการแบบเดียวกันนี้เช่นกัน
          ☸ นอกจากนี้ที่เห็นกันง่าย ๆ ก็คือ พระพิมพ์เจ้าสัวของหลวงปู่บุญ ขันธโชติ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม อายุการสร้างประมาณ 100 ปีเศษ พระพิมพ์บล็อคแรกต้นแบบจะมีขนาด 2.5 x 4.2 เซ็นติเมตร และในสมัยของหลวงปู่ก็มีการถอดพิมพ์สร้างเพิ่มเติม ทำให้เราเห็นพระเจ้าสัวของหลวงปู่บุุญมีมากมายหลายขนาด ดังนี้เป็นต้น

⦿ เปรียบเทียบรูปแบบ
       พระผงสุพรรณหน้าเอียง พิมพ์หน้าแก่ด้วยกัน
            ☸ ถ้าสังเกตุให้ดีพระพักตร์จะไม่เหมือนกันทีเดียว โดยเฉพาะพระกรรณขวาของทั้งสี่องค์ ต่างองค์ก็ต่างแบบ ทั้งๆที่เป็นพิมพ์หน้าแก่ด้วยก้น ส่วนลำองค์ถึงพระเพลาก็ละม้ายกันอยู่

ค้นคว้าและเผยแพร่โดย :
❖ สุนทร อาชวรักษ์ 087-0729613

          ☸ จากรูปพระ ทั้ง 6 องค์นี้ ล้วนเป็นพิมพ์แก่หน้าเอียง จะพิจารณาเห็นได้ว่า
  1. ภาพพระกรรณขวา จะมีรูปแบบที่ไม่เหมือนกันทีเดียว
  2. ภาพพระกรรณซ้าย จะมืรูปลักษณ์เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก แม้บางองค์จะติดพิมพ์ตื้นกว่ากัน
  3. พิจารณารูปพระพ้กตร์โดยภาพรวม บางองค์หน้าก็ไม่เอียง ดังเช่นรูปบนองค์ที่ 3 เหตุผลคร่าว ๆ ทั้งสามนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่หน้าเอียงทั้งหมดล้วนเป็นพระที่ถูกถอดพิมพ์มาจากพระพิมพ์หน้าตรงมาโดยทั้งสิ้น

ค้นคว้าและเผยแพร่โดย :
❖ สุนทร อาชวรักษ์ 087-0729613

จุดตำหนิหรือจุดที่ต้องสังเกตุในพระพิมพ์หน้าแก่ และเปรียบเทียบระหว่างพิมพ์หน้าแก่หน้าเอึยงกับพิมพ์หน้าแก่หน้าตรง มีดังนี้
  • ปลายหูขวายื่นยาวลงมามากกว่าปลายหูซ้าย
  • มีเนื้อเป็นเม็ดเล็กๆในร่องระหว่างแก้มกับหูซ้าย พิมพ์หน้าเอียงแม้ถอดพิมพ์มาก็ยังเห็นได้ เพราะยังคงรูปลักษณ์เดิมอยู๋ ไม่ได้ถูกแต่งเหมือนนัยน์ตา
  • มีร่องตื้นๆเป็นรูปสามเหลี่ยมตรงรักแร้ซ้าย
  • มีจุดเม็ดเนื้อเรียงกันใต้ราวนมซ้าย (องคฺ์ที่ชัด ๆ จะมี 3 เม็ด)
  • ข้อศอกซ้ายจะติดตื้นหรือไม่ติดเลยในบางองค์
  • บริเวณข้อมือขวาด้านใน (ตำแหน่งที่ตรงกับแนวปลายนิ้วซ้ายที่วางอยู่หน้าตัก) จะมีรอยเว้าไม่เรียบตรง
  • ลำแขนขวาช่วงต่อเนื่องจากข้อศอกจนถึงจุดกึ่งกลางของแขนจะมีลักษณะโก่งคด
  • เส้นฝ่าเท้าซ้ายแอ่นโค้ง
  • มีตุ่มกลมเล็กๆใต้พระบาทซ้าย
  • ระหว่างผ้าปูรองนั่งกับหน้าแข้งซ้ายบริเวณช่วงใกล้หัวเข่าจะมีเนื้อนูนขึ้นเป็นก้อน 2-3 จุด
  • ปลายนิ้วมือซ้ายที่พาดหน้าตัก องค์ที่ชัดๆจะเห็นเป็นเหมือนเล็บยาวแต่โค้งตวัดลงเหมือนขอเบ็ด
ค้นคว้าและเผยแพร่โดย :
สุนทร อาชวรักษ์ 087-0729613

          ☸ ได้มีผู้ถามมายังผมว่า ทำไมพระเมื่อถูกถอดพิมพ์แล้วจึงต้องมีขนาดเล็กหรือย่อมลงและพิมพ์ตื้นขึ้น  ผมขออธิบายดังนี้ว่า การทำพิมพ์พระย่อมต้องนำพระด้านหน้าหรือด้านหลังที่จะพิมพ์กดลงไปในวัสดุที่จะใช้ทำแม่พิมพ์ฉะนั้นโดยทั่วไป   จึงน่าจะทำให้เข้าใจได้ว่าพระจากแม่พิมพ์ตัวใหม่ควรจะมีขนาดใหญ่กว่าเดิมด้วยซ้ำ
          ☸ เกี่ยวกับเรื่องนี้ผมขอเรียนให้ทราบจากประสพการณ์ที่เคยได้พบมาเมื่อมีการเปิดกรุพระตามที่ต่าง ๆ เรามักจะเห็นแม่พิมพ์พระนั้น ๆรวมอยู่ในกรุนั้นด้วย แม่พิมพ์ที่พบเป็นดินเผาที่ทำจากดินเหนียว ยุคที่ประมาณหนึ่งร้อยปีเศษใช้ทำมาจากยางพาราก็มี วัสดุเหล่านี้โดยธรรมชาติเมื่อแห้งแล้วจะมีการหดตัว นี่แหละเป็นสาเหตุให้พระที่ถูกถอดพิมพ์มีขนาดเล็กลงและตื้นขึ้น
          ☸ ประมาณ 40 - 50 ปี มานี้ ใช้วัสดุที่ทันตแพทย์ใช้หล่อทำฟันปลอมมาทำพิมพ์พระ ซึ่งมีการหดตัวน้อยมาก แต่ก็ยังมีการหดตัวอยู่ ความพยายามของคนที่พยายามทำพระปลอมยังมีอยู่ โดยใช้เทคโนโลยี่ Computer ในการสร้างภาพรูปแบบและขนาดได้ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ computer ยังทำไม่ได้คือความลึก ฉะนั้นพระที่ผ่านขบวนการนี้จึงยังตื้น ๆเบลอ ๆ ไม่เหมือนของจริง
          ☸ สาเหตุที่มีคนไขว่คว้าหาพระกรุพระเก่าบางประเภท เพราะพระเก่าได้เคยมีประสบการณ์จากผู้ใช้มาแล้วอย่างมากมายตามระยะเวลาที่ผ่านมา เหมือนเป็นการทดสอบให้ประจักษ์ในความเข้มขลังจนเป็นที่มั่นใจมาแล้ว สำหรับพระใหม่อาจต้องใช้ระยะเวลาเสริมสร้างประสบการณ์และความมั่นใจ
          ☸ มีผู้กล่าวว่าในการตรวจดูพระว่าพระองต์นั้นใช่หรือไม่ใช่ แท้หรือไม่แท้ ให้ดูที่พิมพ์กับเนื้อ ถ้าพิมพ์ใช่เนื้อใข่ก็ถือว่าใช่ แต่ในการดูพระเก่าต้องตรวจดูหลายอย่างมากกว่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความเก่า ความเก่านี้ต้องอาศัยเหตุผลของความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง
          ☸ สำหรับพระผงสุพรรณ เหตุผลของความชำนาญที่ได้จากการค้นคว้าศึกษาก็คือ
          ➤ ผิวพระ ตรวจดูต้องมีคราบความแห้ง คราบนี้เกิดจากน้ำในองค์พระที่ถูกขับออกมาตามระยะเวลาของอายุ สีของคราบออกน้ำตาลแดง
          ➤ รารัก พระผงสุพรรณที่ผิวเดิมๆจะขาดรารักไม่ได้โดยเด็ดขาด รารักก็คือราสีดำ ราเป็นพืชมีรากยึดเกาะเนื้อพระเกิดเจริญเติบโตจากความชื้นในกรุและพอกพูนขึ้นตามอายุ สำหรับรารักในพระผงสุพรรณจะแตกต่างจากพระกรุเนื้อดินที่มีอายุเท่ากัน เพราะถ้าเป็นพระเนื้อดินเนื้อจะไม่ละเอียดพอและจะมีรูพรุนให้รากของราเข้ายึดติดแน่นได้ รารักในพระผงสุพรรณต้องมีแต่ไม่เกาะติดแน่น ดังจะเห็นจากหน้าอกซึ่งเป็นบริเวณขนาดใหญ่จะเรียบเนียนไม่มีราเกาะ รารักจะมีอยู่ตามเฉพาะซอกมุม เป็นอย่างนี้ทุกองค์
          ➤ เนื้อพระผงสุพรรณ จะต้องเป็นผงละเอียดเนียนแน่นมาก ไม่ขรุขระ แห้งแข็งแกร่ง
         🔘 ปัจจุบัน ยังไม่มีเครื่องมือเฉพาะใช้สำหรับวัดอายุพระแต่หากเรานำพระผงสุพรรณทั้งพิมพ์หน้าตรง หน้าเอียง หน้ากลางและหน้าหนุ่มมาวางเปรียบเทียบกันดู โดยใช้หลักเกณฑ์ 3 ข้อข้างต้น ก็พอจะทราบไดัหรอกว่า พิมพ์ไหนเก่ากว่ากัน หรือ พิมพ์ไหนเก่าที่สุด ถ้าจะหาพระแท้ขึ้นคอตัวเองก็ควรศึกษา

➣ ค้นคว้าและเผยแพร่โดย :
❖ สุนทร อาชวรักษ์ 087-0729613
 บทความ
เปรียบเทียบพระผงสุพรรณ
พระเจ้าสัวหลวงปู่บุญ

พระเจ้าสัวหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
รุ่นแรก

พุทธานุภาพพระเครื่องไทย
รวมพระหาดูยาก

❖ พระเครื่องไทย ❖

ความเป็นมา และ วิวัฒนาการ


Facebook
Twitter
Email
                 
พุทธานุภาพพระเครื่องไทย
THAI Amulets 999 Wat
วันนี้ : 24
เมื่อวานนี้ : 20
เดือนนี้ : 549
ปีนี้ : 8106